วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2565

ก้าวเข้าสู่ปีที่ ๒๐ ของวารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วารสารของสำนักงาน กปร. ได้ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจ แนวพระราชดำริ และผลสำเร็จจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่สาธารณชน เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาด้านต่าง ๆ รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจในการน้อมนำหลักการที่เป็นรูปธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สนับสนุนความรู้เพื่อสร้างอาชีพ มีรายได้เพิ่มเติม สำหรับในปี ๒๕๖๕ นี้ ตรงกับโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๙๐ พรรษา เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณวารสารฯ ฉบับที่ ๑ จึงได้หยิบยกแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต ดังภาพปกคือ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านขุนแตะ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการที่ช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนของราษฎร โดยเน้นให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรที่ไม่มีงานทำ ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในโครงการ ในขณะเดียวกันราษฎรที่เข้ามาทำงานก็จะได้เรียนรู้ในวิชาชีพต่าง ๆ อาทิ การปลูกพืชการปศุสัตว์ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เกษตรของตนเอง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟู อนุรักษ์และดูแลป่าไม้ด้วย ในปัจจุบันได้มีการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการสืบสาน รักษา และต่อยอด ดังเช่นคอลัมน์ “ทศมราชา พระเมตตาสู่ประชาราษฎร์” บทความเรื่อง “ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ การพัฒนาพื้นที่อีสานใต้” และคอลัมน์“ตัวอย่างความสำเร็จ” บทความเรื่อง “โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำก้ออันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ที่สำนักงาน กปร. ได้ติดตามและประเมินความอยู่ดีมีสุขของประชาชน (Social well-being) ครอบคลุมทุกมิติมุ่งหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานสนองพระราชดำริสู่ราษฎรอย่างแท้จริง จากนั้นเป็นคอลัมน์“ตามรอยพระราชปณิธาน” บทความเรื่อง “หลักการทรงงานและการน้อมนำมาปฏิบัติ” จากการบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวถึงหลักการทรงงาน ที่เป็นทั้งหลักธรรมหลักคิด และหลักปฏิบัติ สามารถน้อมนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างน่าสนใจ ต่อมาเป็นคอลัมน์ “อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” บทความเรื่อง “ศูนย์ศึกษาฯ พัฒนาอาชีพ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส” และ “โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านขุนแตะ” ได้นำเสนอผลสำเร็จจากโครงการฯ ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและการประกอบอาชีพของราษฎรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้แม้กระทั่งในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ เช่นเดียวกันกับคอลัมน์ “สุขพอที่พอเพียง” เรื่อง “สวนผักทาวน์เฮ้าส์ วัคซีนรับมือโควิด-๑๙” นอกจากนี้ ในคอลัมน์ “ศูนย์ศึกษาฯ นำพาอาชีพ” เรื่อง “เผยสูตรเด็ด!!! อาหารปลาลดต้นทุน” ยังได้เสนอแนวทางลดทุน เพิ่มรายได้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในครัวเรือน สุดท้ายเป็นคอลัมน์ “เรื่องเล่าจากหลังกล้อง” บทความเรื่อง “ปลาพลวงพร้อมใจกระโจน” บอกเล่าเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าจากการร่วมแรงร่วมใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติของคนในชุมชนผ่านภาพถ่ายของสรรพสัตว์ที่มี ชีวิตชีวาชวนชื่นใจ คณะบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความต่าง ๆ ที่ถูกคัดสรรมานั้น จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขตามแนววิถีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

Issued date : Jul 27, 2023
Publisher : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Category : Travel
Page : 70
Rating :
Available Unlimited
SHARE ON SOCIAL MEDIA :

MARC Information

245 a : Title 
วารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2565 
520 a : Description 
ก้าวเข้าสู่ปีที่ ๒๐ ของวารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วารสารของสำนักงาน กปร. ได้ประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจ แนวพระราชดำริ และผลสำเร็จจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่สาธารณชน เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาด้านต่าง ๆ รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจในการน้อมนำหลักการที่เป็นรูปธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สนับสนุนความรู้เพื่อสร้างอาชีพ มีรายได้เพิ่มเติม สำหรับในปี ๒๕๖๕ นี้ ตรงกับโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๙๐ พรรษา เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณวารสารฯ ฉบับที่ ๑ จึงได้หยิบยกแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต ดังภาพปกคือ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านขุนแตะ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการที่ช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนของราษฎร โดยเน้นให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรที่ไม่มีงานทำ ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในโครงการ ในขณะเดียวกันราษฎรที่เข้ามาทำงานก็จะได้เรียนรู้ในวิชาชีพต่าง ๆ อาทิ การปลูกพืชการปศุสัตว์ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เกษตรของตนเอง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟู อนุรักษ์และดูแลป่าไม้ด้วย ในปัจจุบันได้มีการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการสืบสาน รักษา และต่อยอด ดังเช่นคอลัมน์ “ทศมราชา พระเมตตาสู่ประชาราษฎร์” บทความเรื่อง “ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ การพัฒนาพื้นที่อีสานใต้” และคอลัมน์“ตัวอย่างความสำเร็จ” บทความเรื่อง “โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำก้ออันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ที่สำนักงาน กปร. ได้ติดตามและประเมินความอยู่ดีมีสุขของประชาชน (Social well-being) ครอบคลุมทุกมิติมุ่งหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานสนองพระราชดำริสู่ราษฎรอย่างแท้จริง จากนั้นเป็นคอลัมน์“ตามรอยพระราชปณิธาน” บทความเรื่อง “หลักการทรงงานและการน้อมนำมาปฏิบัติ” จากการบรรยายของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวถึงหลักการทรงงาน ที่เป็นทั้งหลักธรรมหลักคิด และหลักปฏิบัติ สามารถน้อมนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างน่าสนใจ ต่อมาเป็นคอลัมน์ “อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” บทความเรื่อง “ศูนย์ศึกษาฯ พัฒนาอาชีพ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส” และ “โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านขุนแตะ” ได้นำเสนอผลสำเร็จจากโครงการฯ ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและการประกอบอาชีพของราษฎรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้แม้กระทั่งในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ เช่นเดียวกันกับคอลัมน์ “สุขพอที่พอเพียง” เรื่อง “สวนผักทาวน์เฮ้าส์ วัคซีนรับมือโควิด-๑๙” นอกจากนี้ ในคอลัมน์ “ศูนย์ศึกษาฯ นำพาอาชีพ” เรื่อง “เผยสูตรเด็ด!!! อาหารปลาลดต้นทุน” ยังได้เสนอแนวทางลดทุน เพิ่มรายได้สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในครัวเรือน สุดท้ายเป็นคอลัมน์ “เรื่องเล่าจากหลังกล้อง” บทความเรื่อง “ปลาพลวงพร้อมใจกระโจน” บอกเล่าเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าจากการร่วมแรงร่วมใจในการอนุรักษ์ธรรมชาติของคนในชุมชนผ่านภาพถ่ายของสรรพสัตว์ที่มี ชีวิตชีวาชวนชื่นใจ คณะบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความต่าง ๆ ที่ถูกคัดสรรมานั้น จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขตามแนววิถีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป 
300 a : Total pages 
70 
260 b : Name of publisher 
สำนักงาน กปร. 
260 c : Date of publication 
2566 

No Reviews

  1. There are no reviews yet, why not be the first.