ในอดีตพื้นที่ลุ่มน้้าปากพนัง มีความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก เหมาะแก่การเพาะปลูกและติดต่อค้าขายทางทะเล จึงกลายเป็นเมืองท่าสำคัญ และได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ” ที่ส้าคัญของภาคใต้ เมื่อเวลาผ่านไปประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น “ลุ่มน้ำปากพนัง” ที่เคยอุดมสมบูรณ์ กลับมีความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ระบบนิเวศเสียสมดุลอย่างรุนแรง ตั้งแต่ป่าต้นน้ำ ป่าพรุ ป่าชายเลนเสื่อมโทรม ท้าให้เกิดปัญหา 4 น้้า 3 รส (น้ำเค็ม - น้ำเปรี้ยว น้ำท่วม - น้ำแล้ง) ในพื้นที่ที่กล่าว คือ เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง จากลักษณะของแม่น้ำปากพนังที่มีระดับท้องน้ำอยู่ต่ากว่าระดับน้ำทะเล และมีความลาดชันน้อย เมื่อน้ำจืดทางด้านต้นน้ำมีปริมาณน้อย ทำให้น้ำเค็มสามารถรุกล้ำเข้าไปในแม่น้้าปากพนังและล้าน้้าสาขาเป็นระยะทางเกือบ 100 กิโลเมตร นอกจากนี้ ตอนกลางของลุ่มน้ำปากพนัง ยังมี “พรุควนเคร็ง” ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มขนาดใหญ่ประมาณ 200,000 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังตลอดปีมีสารไพไรท์อยู่ในชั้นดินท้าให้ดินมีสภาพเป็นกรดและเกิดปัญหาน้ำเปรี้ยว ราษฎรไม่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้ ปัญหาน้ำเน่าเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำได้ไหลลงในลำน้ำต่างๆ จนไม่สามารถนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกได้กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นระหว่างชาวนาข้าว และชาวนากุ้ง ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจ้าทุกปี ก็เป็นปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของลุ่มน้ำปากพนังที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีปริมาณฝนตกมาก แต่พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีความลาดชันน้อย ประกอบกับภาวะอุทกภัยมักจะเกิดในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ท้าให้ไม่สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ เกิดภาวะน้ำท่วมสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ เพาะปลูก และพื้นที่ชุมชนเมืองเป็นบริเวณกว้างขวาง
MARC Information