สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

ภาพที่ผมเคยเห็นเมื่อครั้งอดีต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. คนแรก เดินทางไปทำงานพร้อมกับเจ้าหน้าที่ กปร. เพื่อตามเสด็จและบันทึกพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศ ์ จากเหนือจรดใต้ ตลอดทุกภูมิภาค นอกจากการรับพระบรมราโชบายเพื่อสนองพระราชดำริ งานพัฒนา งานฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ รวมถึงการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน แล้ว สำนักงาน กปร. ยังเป็นหน่วยงานหลักที่ประสานงาน จนก่อเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นมากมายจวบจนปัจจุบัน ผมได้ยินสิ่งที่นายเมธ ไปบรรยายหรือพูดคุยกับลูกน้องเสมอๆ ถึงคำว่า “ครองแผ่นดิน” คำนี้แบ่งเป็นคำ 2 คำ คือ ครอง + แผ่นดิน มีที่มาจากพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แต่ละคำมีความหมายและนัยของคำ แต่ใครจะเข้าใจจนตกผลึกในความหมายเหล่านั้น และสามารถบอกเล่าได้ถึงที่มาและความหมายในห้วงเวลาต่างๆ ได้ จะต้องเป็นบุคคลที่ต้องผ่านกาลเวลา มีประสบการณ์ ที่รับทราบเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันได้รับรู้ และเข้าใจความหมายที่แท้จริงของแต่ละคำ ซึ่ง นายเมธ หรือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. คนแรก และเป็นผู้รับสนองในการก่อตั้งสำนักงาน กปร. ได้วิเคราะห์นัยของคำดังกล่าวจากประสบการณ์การทำงานสนองพระราชดำริที่ยาวนานกว่า 35 ปี เพื่อให้น้องๆ รุ่นต่อไป ได้เรียนรู้ เข้าใจถึงสิ่งที่พระองค์พระราชทานมาตลอดรัชสมัย “เราจะครองแผ่นดิน... ในปี 2475 พอเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงไม่มีอำนาจอะไรทางการปกครอง จึงไม่ใช้คำว่า ปกครอง แต่ใช้คำว่า ครอง ซึ่งคำว่า ครอง นี้เป็นมิติของจิตใจ เป็นมิติของความรัก และมิติ ของความรับผิดชอบ แล้วทรงดูแลแผ่นดิน คืออะไร ทรงดูแลดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งก็คือชีวิตของประชาชน โดยธรรม คือธรรมะ คือความดีและถูกต้อง มีเป้าหมายคือ ประโยชน์สุข” ดังนั้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่นำไปสู่เป้าหมาย ซึ่งมีการดำเนินงานผ่านกาลเวลามาพอสมควรที่จะได้พบเห็นปัญหาที่หลากหลาย มีความแตกต่างตามภูมิสังคม พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศ์ ได้พระราชทานพระราชดำริอันเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา การอนุรักษ์ฟื้นฟู และการพัฒนาต่อยอด ให้บังเกิดความยั่งยืน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 มีมากกว่า 4,800 โครงการ1 หรือ 4,800 บทเรียน แต่ละโครงการมีประวัติศาสตร์ ผ่านกระบวนการพัฒนาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนวันนี้ มีผลสำเร็จเกิดขึ้น อันเป็นการบรรลุเป้าหมายตามที่ได้ตั้งไว้ คือ ประโยชน์สุขของประชาชน วันนี้...เราอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารในหลวงรัชกาลที่ 10 มีจุดเชื่อมต่อที่เป็นเป้าหมายเดียวกันคือ ประโยชน์สุข ดังพระปฐม บรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”สามคำที่เริ่มต้น คือ สืบสาน รักษา ต่อยอด สืบสาน หมายความว่า ทรงส่งสัญญาณกับพวกเราว่า สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงทำอย่างไรนั้น จะทรงทำตามทุกอย่าง รักษา คือ รักษาสิ่งที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงทำไว้ ต่อยอด คือ ต่อยอดในสิ่งที่สมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงสร้างไว้ ให้ขยายผลการพัฒนาต่อไป เพราะฉะนั้น ฐานรากทั้งหมดคือรัชกาลที่ 9 แล้วต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 10 เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้จากฐานราก เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการสืบสาน รักษา ต่อยอดได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนบริบูรณ์ ต่อไป นี่คือ...ที่มาของหนังสือ “ครองแผ่นดิน” จากที่เกริ่นมาข้างต้น เป็นข้อความที่ผมได้รับรู้รับฟังจากนายเมธ ซึ่งเป็นเนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ ผมอยากให้รุ่นน้องมีโอกาสได้อ่านเราจะได้รับรู้ รับทราบถึงฐานรากของสำนักงาน กปร. อันมีที่มาอย่างไร เป็นประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์ที่สำคัญที่มีค่าควรแก่การบันทึก หรือจดจำ อันจะได้นำไปประยุกต์ใช้ หรือวิวัฒน์อย่างไร ให้เหมาะสมกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะได้พร้อมในการ สืบสาน รักษา และต่อยอด ได้อย่างบริบูรณ์. "ลลิต ถนอมสิงห์ เลขาธิการ กปร. กันยายน 2565" สารบัญ ทรงทำ ทรงธรรม และทรงครอง 9 - หน้าที่ของพระมหากษัตริย์ 10 - ธรรมะของราชา 11- ทศพิธราชธรรม 12 - อาชีพของพระมหากษัตริย์ 17 - กำเนิดองค์กรสนองงานพระราชดำริ 19 - กำเนิด กปร. 20 - กำเนิดมูลนิธิชัยพัฒนา 42 - ศูนย์ศึกษาการพัฒนา : แหล่งเรียนรู้พระราชทาน 47 ตรงไหนดี : ภูมิสังคมย่อส่วน 48 หลักการของ “ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ” 49 One-stop Service Model 51 กำเนิดศูนย์ศึกษาการพัฒนา 52 - อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดิน น้ำ ลม ไฟ ทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกัน 65 - ทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกัน 66 - น้ำ 66 - จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที 67 - อ่างใหญ่เติมอ่างเล็ก 73 - “แก้มลิง” 74 - ตัวยึกยือ 76 - 4 น้ำ 3 รส (ปากพนัง) 77 - บำบัดน้ำเสียและกำจัดขยะโดยวิธีธรรมชาติ 78 - จากพลังงานน้ำกลายเป็นไฟฟ้า 81 - จากหลุกสู่กังหันน้ำชัยพัฒนา 82 - ดิน 86 - ฐานรากของชีวิต 86 - “แกล้งดิน” 90 - ดินเสื่อมโทรม ที่เขาหินซ้อน 94 - ดินดาน ที่ห้วยทราย 94 - พัฒนาจากบกสู่ทะเลที่คุ้งกระเบน 95 - หญ้ามหัศจรรย์ 96 - ดินสิ้นสภาพ ที่เขาชะงุ้ม 99 -ตามหาพระจันทร์ (ที่ห้วยองคต) 100 - อย่าปอกเปลือกดิน 103 - เส้นทางเกลือ 103 - แนวทางแก้ไขปัญหาดินเค็ม-น้ำเค็ม 105 - ป่าไม้ 112 - จุดเริ่มต้นความสนใจเรื่องป่าไม้ 112 - เคล็ดลับการปลูกต้นไม้ 114 - ทะเลทราย ที่ห้วยทราย 115 - ป่าดิบชื้น ที่ห้วยฮ่องไคร้ 117 - ป่า หรือ น้ำ อะไรเกิดก่อนกัน 118 - ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก 119 - ระหว่างต้นไม้ ยังมีการเอื้อกัน 120 - วิชาที่ว่าด้วย สิ่งมีชีวิต + สิ่งแวดล้อม 121 - ป่าต้นน้ำ 123 - ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 124 - ห้วยปลาหลด 129 - ปลูกป่าในใจคน 131 - กลางน้ำ 132 - ปลายน้ำ 134 - บางกระเจ้า และสวนหลวง ร.9 135 - แนวกันไฟแบบป่าเปียก 136 - ภูเขาป่า 137 - ชาน้้ำมัน 138 - ป่าพรุ 141 - พลังงานทดแทน 143 - กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า 143 - การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ 144 - ความมั่นคงด้านอาหาร 147 - ว่าด้วยเรื่อง “ทฤษฎีใหม่” 148 - ตามหาวัดในจินตนาการ 148 - นี่ไง ! ทฤษฎีใหม่ 150 - ส่วนมากยังอยู่ขั้นที่ 1 151 - ยืดหยุ่นและประยุกต์ใช้ 152 - ทฤษฎีใหม่ช่วยแก้โรคโควิด 153 - ป่ายาง-สวนผสมผสาน 154 - ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 159 - เศรษฐกิจพอเพียง 161 - หลักการทรงงาน 167 - งานยังไม่เสร็จ : สืบสาน รักษา ต่อยอด 181 - งานยังไม่เสร็จ 182 - มองทุกอย่างที่ฉันทำ-จดทุกอย่างที่ฉันพูด 184 - -สรุปทุกอย่างที่ฉันคิด - ปฏิบัติตามที่ทรงสอน คนไทยทุกคน 186 - จะมีความสุข เป้าหมายคือ ประโยชน์สุข 188 - ภาคผนวก 192

Published date : Dec 21, 2022
Publisher : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Category : ทั่วไป
Page : 208
Rating :
Available Unlimited
SHARE ON SOCIAL MEDIA :

MARC Information

245 a : Title 
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) 
260 b : Name of publisher 
ธนอรุณการพิมพ์ 
260 c : Date of publication 
กันยายน 2565 
300 a : Total pages 
208 
520 a : Description 
ภาพที่ผมเคยเห็นเมื่อครั้งอดีต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. คนแรก เดินทางไปทำงานพร้อมกับเจ้าหน้าที่ กปร. เพื่อตามเสด็จและบันทึกพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศ ์ จากเหนือจรดใต้ ตลอดทุกภูมิภาค นอกจากการรับพระบรมราโชบายเพื่อสนองพระราชดำริ งานพัฒนา งานฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ รวมถึงการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน แล้ว สำนักงาน กปร. ยังเป็นหน่วยงานหลักที่ประสานงาน จนก่อเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นมากมายจวบจนปัจจุบัน ผมได้ยินสิ่งที่นายเมธ ไปบรรยายหรือพูดคุยกับลูกน้องเสมอๆ ถึงคำว่า “ครองแผ่นดิน” คำนี้แบ่งเป็นคำ 2 คำ คือ ครอง + แผ่นดิน มีที่มาจากพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แต่ละคำมีความหมายและนัยของคำ แต่ใครจะเข้าใจจนตกผลึกในความหมายเหล่านั้น และสามารถบอกเล่าได้ถึงที่มาและความหมายในห้วงเวลาต่างๆ ได้ จะต้องเป็นบุคคลที่ต้องผ่านกาลเวลา มีประสบการณ์ ที่รับทราบเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันได้รับรู้ และเข้าใจความหมายที่แท้จริงของแต่ละคำ ซึ่ง นายเมธ หรือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. คนแรก และเป็นผู้รับสนองในการก่อตั้งสำนักงาน กปร. ได้วิเคราะห์นัยของคำดังกล่าวจากประสบการณ์การทำงานสนองพระราชดำริที่ยาวนานกว่า 35 ปี เพื่อให้น้องๆ รุ่นต่อไป ได้เรียนรู้ เข้าใจถึงสิ่งที่พระองค์พระราชทานมาตลอดรัชสมัย “เราจะครองแผ่นดิน... ในปี 2475 พอเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงไม่มีอำนาจอะไรทางการปกครอง จึงไม่ใช้คำว่า ปกครอง แต่ใช้คำว่า ครอง ซึ่งคำว่า ครอง นี้เป็นมิติของจิตใจ เป็นมิติของความรัก และมิติ ของความรับผิดชอบ แล้วทรงดูแลแผ่นดิน คืออะไร ทรงดูแลดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งก็คือชีวิตของประชาชน โดยธรรม คือธรรมะ คือความดีและถูกต้อง มีเป้าหมายคือ ประโยชน์สุข” ดังนั้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่นำไปสู่เป้าหมาย ซึ่งมีการดำเนินงานผ่านกาลเวลามาพอสมควรที่จะได้พบเห็นปัญหาที่หลากหลาย มีความแตกต่างตามภูมิสังคม พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศ์ ได้พระราชทานพระราชดำริอันเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา การอนุรักษ์ฟื้นฟู และการพัฒนาต่อยอด ให้บังเกิดความยั่งยืน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 มีมากกว่า 4,800 โครงการ1 หรือ 4,800 บทเรียน แต่ละโครงการมีประวัติศาสตร์ ผ่านกระบวนการพัฒนาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนวันนี้ มีผลสำเร็จเกิดขึ้น อันเป็นการบรรลุเป้าหมายตามที่ได้ตั้งไว้ คือ ประโยชน์สุขของประชาชน วันนี้...เราอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารในหลวงรัชกาลที่ 10 มีจุดเชื่อมต่อที่เป็นเป้าหมายเดียวกันคือ ประโยชน์สุข ดังพระปฐม บรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”สามคำที่เริ่มต้น คือ สืบสาน รักษา ต่อยอด สืบสาน หมายความว่า ทรงส่งสัญญาณกับพวกเราว่า สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงทำอย่างไรนั้น จะทรงทำตามทุกอย่าง รักษา คือ รักษาสิ่งที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงทำไว้ ต่อยอด คือ ต่อยอดในสิ่งที่สมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงสร้างไว้ ให้ขยายผลการพัฒนาต่อไป เพราะฉะนั้น ฐานรากทั้งหมดคือรัชกาลที่ 9 แล้วต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่ 10 เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้จากฐานราก เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการสืบสาน รักษา ต่อยอดได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนบริบูรณ์ ต่อไป นี่คือ...ที่มาของหนังสือ “ครองแผ่นดิน” จากที่เกริ่นมาข้างต้น เป็นข้อความที่ผมได้รับรู้รับฟังจากนายเมธ ซึ่งเป็นเนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ ผมอยากให้รุ่นน้องมีโอกาสได้อ่านเราจะได้รับรู้ รับทราบถึงฐานรากของสำนักงาน กปร. อันมีที่มาอย่างไร เป็นประวัติศาสตร์ หรือเหตุการณ์ที่สำคัญที่มีค่าควรแก่การบันทึก หรือจดจำ อันจะได้นำไปประยุกต์ใช้ หรือวิวัฒน์อย่างไร ให้เหมาะสมกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะได้พร้อมในการ สืบสาน รักษา และต่อยอด ได้อย่างบริบูรณ์. "ลลิต ถนอมสิงห์ เลขาธิการ กปร. กันยายน 2565" สารบัญ ทรงทำ ทรงธรรม และทรงครอง 9 - หน้าที่ของพระมหากษัตริย์ 10 - ธรรมะของราชา 11- ทศพิธราชธรรม 12 - อาชีพของพระมหากษัตริย์ 17 - กำเนิดองค์กรสนองงานพระราชดำริ 19 - กำเนิด กปร. 20 - กำเนิดมูลนิธิชัยพัฒนา 42 - ศูนย์ศึกษาการพัฒนา : แหล่งเรียนรู้พระราชทาน 47 ตรงไหนดี : ภูมิสังคมย่อส่วน 48 หลักการของ “ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ” 49 One-stop Service Model 51 กำเนิดศูนย์ศึกษาการพัฒนา 52 - อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดิน น้ำ ลม ไฟ ทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกัน 65 - ทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกัน 66 - น้ำ 66 - จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที 67 - อ่างใหญ่เติมอ่างเล็ก 73 - “แก้มลิง” 74 - ตัวยึกยือ 76 - 4 น้ำ 3 รส (ปากพนัง) 77 - บำบัดน้ำเสียและกำจัดขยะโดยวิธีธรรมชาติ 78 - จากพลังงานน้ำกลายเป็นไฟฟ้า 81 - จากหลุกสู่กังหันน้ำชัยพัฒนา 82 - ดิน 86 - ฐานรากของชีวิต 86 - “แกล้งดิน” 90 - ดินเสื่อมโทรม ที่เขาหินซ้อน 94 - ดินดาน ที่ห้วยทราย 94 - พัฒนาจากบกสู่ทะเลที่คุ้งกระเบน 95 - หญ้ามหัศจรรย์ 96 - ดินสิ้นสภาพ ที่เขาชะงุ้ม 99 -ตามหาพระจันทร์ (ที่ห้วยองคต) 100 - อย่าปอกเปลือกดิน 103 - เส้นทางเกลือ 103 - แนวทางแก้ไขปัญหาดินเค็ม-น้ำเค็ม 105 - ป่าไม้ 112 - จุดเริ่มต้นความสนใจเรื่องป่าไม้ 112 - เคล็ดลับการปลูกต้นไม้ 114 - ทะเลทราย ที่ห้วยทราย 115 - ป่าดิบชื้น ที่ห้วยฮ่องไคร้ 117 - ป่า หรือ น้ำ อะไรเกิดก่อนกัน 118 - ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก 119 - ระหว่างต้นไม้ ยังมีการเอื้อกัน 120 - วิชาที่ว่าด้วย สิ่งมีชีวิต + สิ่งแวดล้อม 121 - ป่าต้นน้ำ 123 - ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 124 - ห้วยปลาหลด 129 - ปลูกป่าในใจคน 131 - กลางน้ำ 132 - ปลายน้ำ 134 - บางกระเจ้า และสวนหลวง ร.9 135 - แนวกันไฟแบบป่าเปียก 136 - ภูเขาป่า 137 - ชาน้้ำมัน 138 - ป่าพรุ 141 - พลังงานทดแทน 143 - กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า 143 - การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ 144 - ความมั่นคงด้านอาหาร 147 - ว่าด้วยเรื่อง “ทฤษฎีใหม่” 148 - ตามหาวัดในจินตนาการ 148 - นี่ไง ! ทฤษฎีใหม่ 150 - ส่วนมากยังอยู่ขั้นที่ 1 151 - ยืดหยุ่นและประยุกต์ใช้ 152 - ทฤษฎีใหม่ช่วยแก้โรคโควิด 153 - ป่ายาง-สวนผสมผสาน 154 - ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 159 - เศรษฐกิจพอเพียง 161 - หลักการทรงงาน 167 - งานยังไม่เสร็จ : สืบสาน รักษา ต่อยอด 181 - งานยังไม่เสร็จ 182 - มองทุกอย่างที่ฉันทำ-จดทุกอย่างที่ฉันพูด 184 - -สรุปทุกอย่างที่ฉันคิด - ปฏิบัติตามที่ทรงสอน คนไทยทุกคน 186 - จะมีความสุข เป้าหมายคือ ประโยชน์สุข 188 - ภาคผนวก 192 

No Reviews

  1. There are no reviews yet, why not be the first.